วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Diary Note 7

Diary Note 7
26th January,2016


งดการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบ
กลางภาค

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Diary Note 5

Diary Note 5
12th Fabruary,2016

Knowledge
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)

   เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability)
   เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
   ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุของ LD
  ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
   กรรมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน 

(Reading Disorder)

    หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
   อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
   ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
   อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
   อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
   เดาคำเวลาอ่าน
   อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
   อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
   ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
   ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
   เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2. ด้านการเขียน 

(Writing Disorder)

  เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
   เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน  เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9
  เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
  สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง

3. ด้านการคิดคำนวณ 
(Mathematic Disorder)
         ตัวเลขผิดลำดับ
   ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
   ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
   แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
  นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  จำสูตรคูณไม่ได้
  เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
  ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  ตีโจทย์เลขไม่ออก
  คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  ไม่เข้าใจเรื่องเวลา

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
   แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
   มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
   เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
   งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
   การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
   สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
   เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
   ทำงานช้า
   การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
   ฟังคำสั่งสับสน
   คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
   ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
   ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
   ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
   ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

7. ออทิสติก (Autistic)


  หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
  เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
  ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
   เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
   ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
คำสำคัญ --->  "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 
ทักษะภาษา
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่

ลักษณะของเด็กออทิสติก
   อยู่ในโลกของตนเอง
  ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  ไม่ยอมพูด
  เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ


เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก
องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างน้อย 2 ข้อ
   ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
    ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
    ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
    ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ข้อ
    มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
    ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
   พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
    ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
    มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
    มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
    มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
   สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
   นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
   นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
   วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
   ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
   ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
    การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
    การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

Autistic Savant
  กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
     จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
  กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker)
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
***อัจฉริยะจะแฝงตัวอยู่ในกลุ่มออทิสติกเพียง 2 เปอร์เซนต์ จากทั้งหมด***

Activity
ชมวิดิโอบุคคลที่ออทิสติกที่มีความเป็นอัจฉริยะ

alonzo clemons


stephen wiltshire

Iris Grace

Daniel Tammet


Kim Peek


Tony Deblois

Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method
     บรรยาย ผ่านโปรแกรมนำเสนอ Microsoft Office Powerpoint    พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Diary Note 4

Diary Note 4
5th Febuary,2016

Knowledge

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

(Children with Speech and Language Disorders )

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

ความบกพร่องทางภาษา 
หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย 
(Delayed Language) 
-มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
-มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
-ไม่สามารถสร้างประโยคได้
-มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
-ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia
-อ่านไม่ออก (alexia)
-เขียนไม่ได้ (agraphia)
-สะกดคำไม่ได้
-ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
-จำคำหรือประโยคไม่ได้
-ไม่เข้าใจคำสั่ง
-พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ 
3.Gerstmann's syndrome
      - ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
      -ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
      -คำนวณไม่ได้ (acalculia)
      -เขียนไม่ได้ (agraphia)
      -อ่านไม่ออก (alexia) 
4.ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา


5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
(Children with Physical and Health Impairments)

เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
-อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
- เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
มีปัญหาทางระบบประสาท
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว 
โรคลมชัก (Epilepsy)


-เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง

-มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
 อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
 มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
 เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
 เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย

2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู

3.อาการชักแบบ Partial Complex
 มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
 เหม่อนิ่ง 
 เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
 หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก

4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
 เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal)
 เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น 


การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
ซี.พี.
(
Cerebral Palsy)

 การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
• spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
• spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
• spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
 spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง
(
athetoid , ataxia)

 athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
 ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)

 เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
 เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
  ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ   เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Poliomyelitis)

• มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
 ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม 

โรคระบบทางเดินหายใจ


โรคเบาหวาน (
Diabetes mellitus )

โรคหัวใจ (
Cardiac Conditions)


โรคมะเร็ง (Cancer) 

เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
- ท่าเดินคล้ายกรรไกร
- เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
- ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
- มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
- หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
- หกล้มบ่อย ๆ         
- หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ

โรคกระดูกอ่อน osteogenesis imperfeta

โรคศีรษะโต hydrocephalus



โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ Rheumatoid arthritis


Activity
ชมวิดิโอบุคคลที่มีชื่อเสียง
Lena maria


Nick Vujicic



Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method
     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับเนื้อในบทเรียนอย่างละเอียด เข้าใจง่าย พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา