วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

Diary Note 14

Diary Note 14
28th April,2016

Knowledge

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล 

(Individualized Education Program)
แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
        ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน




3. การใช้แผน
        -เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
        -นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
        -แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
        -จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
        -ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

4. การประเมินผล
           -โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
           -ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**





Activity
 ต้นไม้บอกตัวตน




สีขาว 
คนที่ชอบสีขาว บ่งบอกว่าเป็นคนเรียบร้อย เรียบง่าย มีจิตใจอ่อนโยน เชื่อมั่นในความคิดของตนเอง ในเรื่องของความรัก คนที่ชอบสีขาวมีความเป็นแม่บ้านแม่เรือนชอบทำอาหาร และชอบที่จะดูแลเอาใจใส่คนอื่นๆ ยิ่งเป็นคนที่รักจะดูแลอย่างดีเป็นพิเศษ ใครที่อยู่ใกล้ชิดจะรู้สึกอบอุ่น

สีฟ้า 
คนที่ชอบสีฟ้า เป็นคนที่ชอบทำอารมณ์โรแมนติก รักเดียวใจเดียว และก็โกรธง่ายหายเร็ว เป็นคนรักความสงบ มองโลกในแง่ดี น่าเชื่อถือ ดูจากภายนอกจะเป็นคนสุขุม แต่ภายในแล้วกลับเป็นคนที่มีจิตใจหวั่นไหวง่าย อ่อนแอ มีเรื่องมากระทบจิตใจนิดหน่อยก็ทำให้รู้สึกเป็นทุกข์

สีแดง 
คนที่ชอบสีแดงมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง เป็นคนเปิดเผย มีความเป็นผู้นำ แต่ใจร้อน จนบางครั้งก็ดูก้าวร้าว ในเรื่องของความรักเป็นคนเปิดเผยและชัดเจน จริงใจกับความรัก มีข้อเสียคือเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยยั้งคิด แต่ถึงอย่างไรคนที่ชอบสีแดงก็เป็นคนที่รักความสนุกสนานเฮฮา ทำให้คนที่อยู่ใกล้รู้สึกผ่อนคลายมีชีวิตชีวาไปด้วย

สีเขียว 
สีเขียวเป็นสีที่บ่งบอกความสงบ เยือกเย็น คนที่ชอบสีนี้ เป็นคนใจกว้าง ใจเย็น รักความยุติธรรม ไม่ชอบมีปัญหาหรือทะเลาะวิวาทกับใคร เรื่องของความรักคนที่ชอบสีเขียว เป็นคนที่ไม่มีอารมณ์โรเมนติกเอาเสียเลย รักใครจะรักแบบซื่อๆ ไม่หวือหวา แต่รักใครรักจริง รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเลยล่ะ
สีเหลือง

คนที่ชอบสีเหลืองเป็นคนที่มีนิสัย ร่าเริง สดใส ชอบการเปลี่ยนแปลงชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและคนอื่นๆ ได้ง่าย ในเรื่องของความรักต้องเลือกจนกว่าจะแน่ใจจึงจะคบเป็นแฟน เป็นคนมองโลกในแง่ดี ชอบทำให้คนอื่นมีความสุข

สีชมพู

คนที่ชอบสีชมพู เป็นคนอ่อนโยน อบอุ่น มีเสน่ห์ ฉลาด รอบรู้ ทันคน รักอิสระ ในเรื่องของความรักเป็นคนโนเมนติก กล้าเปิดเผยและจริงใจกับคนรักจะเอาใจใส่เทคแคร์คนรักเป็นอย่างดีที่สุด

สีม่วง เป็นสีที่บ่งบอกถึงคนที่มี 2 อารมณ์ ในเวลาเดียวกัน อาจเป็นคนหัวโบราณยึดมั่นในขนบธรรมเนียม แต่เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนชอบสังเกต มีปัญญา เฉลียวฉลาด รวมถึงเรื่องของความรักด้วย

สีส้ม คนที่ชอบสีส้มเป็นคนรักเพื่อนพ้อง รักความเป็นธรรมชาติ มีความคิดสร้างสรรค์ แปลก แหวกแนว มุ่งมั่นและทะเยอทะยาน ความรักของคนที่ชอบสีนี้ จึงมักมีอะไรมาเซอร์ไพรส์ หวานใจบ่อยๆ และยังเป็นคนเปิดเผยจริงใจ

สีน้ำเงิน คนชอบสีนี้เป็นคนที่มีรสนิยมหรู หยิ่งในศักดิ์ศรี มีกาลเทศะ บางครั้งก็ยากที่จะเดาใจถูก เรื่องความรักจะชอบคนที่มีพร้อมในทุกอย่างเช่น ฐานะ หน้าตา ชื่อเสียง แต่เป็นคนที่รักเดียวใจเดียวนะขอบอก

สีน้ำตาล 
คนที่ชอบสีนี้เป็นคนเจ้าสำอาง ชอบแต่งตัวเพื่อให้ดูดีในสายตาคนอื่น เป็นคนที่มีความคิดรอบคอบ มีพลังในการต่อสู้ เรื่องของความรักหากได้รักใครแล้วจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เค้ารักตอบ ชอบความสวยงามและถือเรื่องครอบครัวเป็นเรื่องใหญ่

สีเทา คนที่ชอบสีนี้เป็นคนที่ใส่ใจความรู้สึกคนอื่นเสมอ ใจเย็นรอบคอบไตร่ตรองทุกสิ่งก่อนที่จะพูดออกมา จึงทำให้เป็นคนที่มีเสน่ห์ในการพูด มักได้รับความเชื่อถือจากคนรอบข้าง เวลามีความรักจะเอาใจใส่ คนรักเป็นอย่างดี แต่จะไม่ชอบตีกรอบคนรักให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ เพราะคนที่ชอบสีนี้ค่อนข้างรักสันโดษ

สีดำ 
สีแห่งความลึกลับ ปิดบัง ซ่อนเร้น คนที่ชอบสีนี้ยากที่จะเดาความรู้สึกได้ เป็นคนที่น่าค้นหา มีบุคลิกที่มาดมั่นและมั่นคง แต่บางเรื่องที่ต้องตัดสินใจคนเดียวกลับลังเล เรื่องความรักก็จะชอบคนที่มีฐานะดีกว่า ดูสูงศักดิ์กว่า ถ้าเป็นเรื่องเรียน เรื่องงานก็จะชอบคนที่เรียนเก่งกว่า ทำงานเก่งกว่า

ข้อมูลอ้างอิง : tsgclub


Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method
     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับคำตอบ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

Diary Note 13

Diary Note 13
22 April,2016

Knowledge

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม

เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
 เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
 ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
 เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
 เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
 เกิดผลดีในระยะยาว
 เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
 โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
 การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
 การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
 การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

3. การบำบัดทางเลือก
 การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
 ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
 ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
 การฝังเข็ม (Acupuncture)
 การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
 การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
 โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
 เครื่องโอภา (Communication Devices)
 โปรแกรมปราศรัย



บทบาทของครู
 ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
 ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
 จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
 ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
 เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
 การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
 การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
 เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
 ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
 เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
 ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
 จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
 ครูจดบันทึก
 ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
 วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
 คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
 ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
 เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
 อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
 ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
 ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
 เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
 ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
 ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
 ทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
 ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
 การให้โอกาสเด็ก
 เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
 ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
 เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
 ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
 ถามหาสิ่งต่างๆไหม
 บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
 ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
 การพูดตกหล่น
 การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
 ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
 ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
 ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
 อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
 อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
 ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
 เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
 ทักษะการรับรู้ภาษา
 การแสดงออกทางภาษา
 การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา




ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
• การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
 ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
 ให้เวลาเด็กได้พูด
 คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
 เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
 เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
 ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
 กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
 เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
 ใช้คำถามปลายเปิด
 เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
 ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์
(
Incidental Teaching
)


3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
            เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 

การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


การสร้างความอิสระ
 เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
 อยากทำงานตามความสามารถ
 เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
 การได้ทำด้วยตนเอง
 เชื่อมั่นในตนเอง
 เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
 ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
 ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
• ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
 หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
 เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
 หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
 เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
 มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม





ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
 แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
 ย่อยงาน
 เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
1.เข้าไปในห้องส้วม
2.ดึงกางเกงลงมา
3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.ดึงกางเกงขึ้น
9.ล้างมือ
10.เช็ดมือ
11.เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
 แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด

สรุป
 ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
 ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
 ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
 ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
 การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
 มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
 เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
 พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
 อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
 ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
 จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
 เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
 เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
 คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว



ความจำ
 จากการสนทนา
 เมื่อเช้าหนูทานอะไร
 แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
 จำตัวละครในนิทาน
 จำชื่อครู เพื่อน
 เล่นเกมทายของที่หายไป

วางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก


Activity
       -ชมวิดิโอเกี่ยวกับการเรียนรวม
       -แสดงตัวอย่างกรณีเด็กพิเศษใส่เสื้อกันเปื้อนไม่ได้

Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method
     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับคำตอบ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา