วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

Diary Note 12

Diary Note 12
25th March,2016

Knowledge
การจัดประสบการณ์
การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม
(
Integrated Education หรือ Mainstreaming)
    การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
    มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
    ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
     ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
    เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
     เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
    เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
     มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
     เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
(
Inclusive Education)
    การศึกษาสำหรับทุกคน
    รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
    จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

Wilson , 2007
    การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
    การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
    กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
     เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง 


สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
    เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
    เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน
                (Education for All)
    การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
    เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
    ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก

บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
 การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
 จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
 เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
 ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
 เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
 พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
 พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
 ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
 ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
 ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
 ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
 ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
 สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
 จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
 ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
  การนับอย่างง่ายๆ
  การบันทึกต่อเนื่อง
  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
  กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
  ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
  ให้รายละเอียดได้มาก
  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

การบันทึกต่อเนื่อง
  ให้รายละเอียดได้มาก
  เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
  โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
  บันทึกลงบัตรเล็กๆ
  เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง

การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
  ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
  พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
  ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
  พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่



Activity
ชมวิดิโอเกี่ยวกับการเรียนรวม



Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method

     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับคำตอบ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment

   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

Diary Note 11

Diary Note 11
25th March,2016

Knowledge

-ร่วมกันหาคำตอบ และ ทบทวนความรู้เดิมที่ได้ทำการทดสอบ
-ค้นหาวิจัยที่เกียวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พร้อมทั้งสรุป




Activity
      ร่วมกันสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกโรงเรียนในการสังเกตการเรียนการสอนในอนาคต
       
Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Teaching Method
     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับคำตอบ พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน

Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

Diary Note 10

Diary Note 10
18th March,2016
สอบกลางภาค วิชา การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood


(EAED3214)



วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

Diary Note 9

Diary Note 9
11st March,2016


Knowledge

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

-มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
-แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
-มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
           -ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
-ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
-ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
-ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
-ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
-ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
-เอะอะและหยาบคาย
-หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
-ใช้สารเสพติด
-หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
-จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
-ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
-งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
-มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
-พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
-มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
-หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
-ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
-ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
-การปฏิเสธที่จะรับประทาน
-รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
-โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
-ขาดเหตุผลในการคิด
-อาการหลงผิด (Delusion)
-อาการประสาทหลอน (Hallucination)
-พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

สาเหตุ
-ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
-ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
-มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
-มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum) 

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช
มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
•  Inattentiveness
  Hyperactivity
  Impulsiveness

สาเหตุ
-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมองเช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
-ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
-พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
-ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
- เรียกร้องความสนใจ
-อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
-ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
-ฝันกลางวัน
- พูดเพ้อเจ้อ 



 9. เด็กพิการซ้อน 
(Children with Multiple Handicaps)


-เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่างเป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้อง
    ในการเรียนรู้อย่างมาก
-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด 




Apply
      เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความต้องการของเด็ก พัฒนาการ และ วุฒิภาวะเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ



Teaching Method
     บรรยาย อธิบาย เกี่ยวกับรายวิชา พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน



Assessment
   Place : บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่พร้อมใช้งาน
   My self : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
   Classmate : ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
   Instructor : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา